วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


ครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560  เวลา 11.30-14.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 

  • วันนี้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เรื่อง"เล่นเเบบไหนให้ลูกฉลาด"การเล่นก็คืแการเรียนรู้ โดยที่เด็กจะได้รับการเรียนผ่านการเล่นเเละการเล่นก็จะทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครอง ทำให้เด็กได้รับความรักเเละควาามอบอุ่นจากการทำกิจกรรมร่วมผู้ปกครองเเละวันนี้ยังทำงานกลุ่มเรื่อง"ธรรมชาติเเละพัฒนาการของผู้เรียนในเเต่ละช่วงวัยของเด็ก" ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม เเละด้านสติปัญญา ของเด็กในวัยเด็กตอนต้น วัยเด็กตอนกลาง วัยเด็กตอนต้น เเละวัยเด็กตอนปลาย 

ภาพนำเสนอบทความ

ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน 



                                             ภาพบรรยากาศการทำงานกลุ่ม


การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  วันนี้เรียนเเบบสนุกๆ ช่วยกันทำงานเเละนำเสนองานที่ได้ทำ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน ทำงานกลุ่มเเละนำเสนองานหน้าชั้นเรียนดี
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ ทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย

ครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560  เวลา 11.30-14.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอบทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย -ทฤษฏีของกีเซล สามารถนำมาอธิบายพัฒนาการของมนุษย์ในด้านการเจริญเติบโตพัฒนาการทางร่างกายเเละสามารถนำไปเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางสติปัญญาได้ -ทฤษฏีของซิกมันต์ ฟรอยด์ เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีคสามเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านอิสระ หรือที่เขาเรียกว่าเเรงขับโดยสัญชาติญาณ เเรงขับดัน -ทฤษฏีของอีริคสัน คือเด็กเป็นวัยที่สำคัญเเละพร้อมเรียนรู้สิ่งเเวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์เเละสภาพเเวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในเเง่ดี -ทฤษฏีของเพียร์เจท์ ค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กเเละพัฒนาการทางด้านสติปัญญา 

ภาพการนำเสนอบทความการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



ภาพการนำเสนอทฤษฎี


การประเมินผล
ประเมินตัวเอง : มีความสนใจในการเรียนดี เเละตั้งใจฟังเเละจดตามที่เพื่อนๆ นำเสนอ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน ให้ความร่วมมือในการนำเสนอดี ไม่พูดเเละเล่นกันในขณะที่กลุ่มอื่นนำเสนออยู่
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักเเละเป็นกันเอง ชอบตอนเวลาอาจารย์สอน อาจารย์สอนสนุกไม่น่าเบื่อ
ครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560  เวลา 11.30-14.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  •  วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย  1.ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์  โครงสร้างของบุคลิกภาพ คือ (1) อิค (Id) - สันชาตญาณ (2) อีโก้ (Ego) - ลักษณะคุณธรรม จริยธรรม  (3) ซูเปอร์อีโก้ (Superego) - ความเชื่อ ค่านิยม   ขั้นตอนของพัฒนาการด้านบุคคลิกภาพ  -ขั้นที่ 1 ขั้นปาก  ( เเรกเกิด-18 เดือน )  -ขั้นที่ 2 ขันทวารหนัก ( 2-3 ปี )        -ขั้นที่ 3 ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น ( 3-5 ปี )  -ขั้นที่ 4 ขั้นแฝง ( 5-12 ปี )  -ขั้นที่ 5 ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย ( 12 ปีขึ้นไป )                                                                                                                                               2. ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
      ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วาางใจ/รู้สึกไม่ไว้วางใจ
      ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง/ความสงสัยในความสามารถของตน
      ขั้นที่ 3 การเป็นผู้นำริเริ่ม/ความรู้สึกผิด
      ขั้นที่ 4 การรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จ/มีปมด้อย
      ขั้นที่ 5 การรู้เอกลักษณ์ในตนเอง/การสับสนเอกลักษณ์ตนเอง
      ขั้นที่ 6 ความรู้สึกว่าตนมีเพื่อน/มีความรู้สึกอ้างว้าง
      ขั้นที่ 7 ความรู้สึกรับผืดชอบเเบบผู้ใหญ่/ความรู้สึกเฉื่อยชา
      ขั้นที่ 8 ความรู้สึกมั่นคง/ความรู้สึกเเบบทอดอาลัย                                                                            3. ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น
     4. ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล
วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก
       5. ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์
คิดเเบบเป็นกระบวนการมากขึ้น ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม
 - แนวความคิดเกี่ยวกับขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง
และการจัดปรับขยายโครงสร้าง

               Assimilation          ความรู้จากประสบการณ์
              Accommodation     นำความรู้ไปปรับใช้
       6. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
พัฒนาการทางการทางความคิดความเข้าใจ
 - ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
  ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional วัย 2 – 10 ปี 
   ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
   ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี
7.ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์
พัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผลเเละพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากการให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ เเละมีการพัฒนาทางความคิด



                                    ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน 


การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  ตั้งใจฟังเเละดูเเละจดตามที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยกันในขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีมาก สรุปเนื้อมาน้อยมา ทำให้เข้าใจได้ง่าย 

ครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.30-14.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้เรียนต่อจากอาทิตย์ที่เเล้ว อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่งเด็กปฐมวัยเเละการพัฒนา พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ขวบ การปฏิสนธิ คือการผสมของอสุจิของพ่อกับเซลล์รังไข่ของเเม่เข้าด้วยกัน การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.ระยะไข่ (Ovum) ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วัน  2.ระยะลูกอ่อน (Embryo) ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน  3.ระยะเด็กอ่อน (Fetus) ตั้งแต่ 2 เดือนถึง 9 เดือน เเละพัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัย ว่าเเต่ละช่วงวัยของเด็กสามารถพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญาว่าวัยไหนควรเป็นเเบบไหนเเละพัฒนาไปในรู้เเบบใด






     ภาพบรรยากาศภายใน                      ห้องเรียน






การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  ตั้งใจฟังเเละจดตามที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยคุยกันในขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละน่าไม่เบื่อ เเละอาจารย์ชอบเล่นมุขไม่ให้นักศึกษาง่วงนอน




ครั้งที่ 1

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560  เวลา 11.30-14.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้เป็นวันที่ได้เรียนเป็นครั้งเเรกตั้งเเต่ที่เปิดเทอมมา อาจารย์อธิบายรายละเอียดวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เเละได้บอกรายละเอียดที่จะต้องเรียนในวิชานี้ว่ามีอะไรบ้าง เเละจะต้องทำงานอะไรบ้างในเเต่ละสัปดาห์ เเละวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องเด็กปฐมวัยเเละพัฒนาการ - เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งเเต่เเรกเกิดจนถึง 5 ปี - ความสำคัญของเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูเเละการเรียนรู้อย่างถูกต้องเเละเหมาะสมกับวัย - ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ชอบเลียนเเบบบุคคลที่ตนเองรักเเละสนใจ - ความหมายของพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา - ลักษณะของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ เเละพัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน - ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย คือ  อาหาร อากาศ เพศ เชื้อชาติ สติปัญญา - ความหมายและลักษณะของเด็กพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีลักษณะหรือความต้องการพิเศษ - ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง คือเด็กเรียนรู้ได้เร็ว เเละฉลาดกว่าผู้อื่น 2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง คือเด็กเรียนรู้ได้ช้ากว่าคนอื่น



เปิดเรียนวันเเรกของเพื่อนๆ


ภาพบรรยากาศการสอน

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง : มีความสนใจในการเรียน รู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่ให้ทำ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม จึงทำให้กิจกรรมที่อาจารย์สอน รู้สึกสนุกเเละไม่น่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักเเละเป็นกันเอง ชอบตอนเวลาอาจารย์สอน อาจารย์สอนสนุกไม่น่าเบื่อ